รู้ทุกเรื่อง “ผ่าฟันคุด” กับ Wabi Dental Clinic Chiangmai
สารบัญเนื้อหา

รู้ทุกเรื่อง “ผ่าฟันคุด” กับ Wabi Dental Clinic Chiangmai

“ฟันคุด” คำสั้น ๆ ที่ทำให้หลายคนกลัว และมักถูกกล่าวขานถึงในเรื่องเจ็บของการผ่าเพื่อนำออก และเป็นหนึ่งในปัญหาช่องปากอันดับต้น ๆ ที่คนส่วนใหญ่ ยิ่งหากคุณต้องการจัดฟันแล้วล่ะก็บอกเลยว่าหนีไม่พ้นค่ะ แล้วคุณสงสัยหรือไม่คะว่าฟันคุดเกิดจากอะไร? สัญญาณอะไรที่เตือนว่ามีฟันคุด? ทำไมต้องผ่าฟันคุด? ผ่าฟันคุดเจ็บไหม? และอีกมากมาย ทุกคำถามเกี่ยวกับฟันคุดในวันนี้ Wabi Dental Clinic Chiangmai มีคำตอบมาให้แน่นอนค่ะ

“ฟันคุด”(Wisdom Teeth / Impacted Teeth) คืออะไร ?

ฟันคุดคือฟันที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อมีช่วงอายุประมาณ 18 – 25 ปี เป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติเพราะมีพื้นที่ให้ฟันขึ้นมาได้ไม่เพียงพอ หรือ มีฟันซี่อื่นๆมาขวางทิศทางการขึ้นของฟันไว้ มีทั้งขึ้นเบียดเฉียงข้าง หรือนอนเป็นแนวราบ บางซี่โผล่ขึ้นมาได้บางส่วน บางซี่ถูกฝังเอาไว้อยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ซึ่งหาก หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะทำให้รู้สึกปวด และเกิดปัญหาสุขภาพในช่องปากตามมาภายหลังอีกมากมาย

ทำไมอยู่ ๆ ถึงมี “ฟันคุด” โผล่ขึ้นมา ?

ฟันคุดเกิดจากการที่บริเวณขากรรไกรมีพื้นที่ไม่เพียงพอให้ฟันขึ้นได้อย่างเหมาะสม (ขากรรไกรมีขนาดเล็กกว่าฟันที่ขึ้นมา) ซึ่งเป็นผลมาจาก “พันธุกรรม” โดยฟันไม่สามารถเจริญเติบโตเเละงอกขึ้นมาได้ตามปกติ หรือที่เรียกว่า “ฟันคุดนั้น” จะมีทั้งหมด 4 ซี่ ทั้งซ้ายและขวา ของทั้งฟันบนและฟันล่าง โดยจะขึ้นในบริเวณฟันกรามซี่ในสุด

โดยฟันคุดที่ Wabi Dental Clinic Chiangmai มักพบปัญหาบ่อยสุดคือ ฟันกรามล่างซี่ล่างสุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของขากรรไกรล่าง ทั้งนี้ฟันคุดก็สามารถเกิดขึ้นในจุดอื่น ๆ ได้เช่นกันตามแต่ปัญหาของแต่ละคน เช่น ฟันกรามน้อย ฟันเขี้ยว ฟันหน้า

“ฟันคุด” มีกี่แบบ ?

หากแบ่งฟันคุดตามลักษณะการขึ้น Wabi Dental Clinic Chiangmai ขอแบ่งเป็น 2 แบบดังนี้

1.ฟันคุดแบบมีเหงือกปกคลุม (Soft Tissue Impaction)

ลักษณะฟันคุดประเภทนี้ คือ ถึงแม้จะโผล่พ้นกระดูกขากรรไกรได้แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถทะลุผ่านเหงือกได้ หรืออาจจะผ่านได้แค่เพียงบางส่วน ฟันคุดประเภทนี้สามารถถอนได้เลย หรือใช้วิธีผ่าแต่เหงือกโดยไม่ต้องกรอกระดูก

2.ฟันคุดที่อยู่ภายใต้กระดูกขากรรไกร (Bony impaction)

ลักษณะฟันคุดประเภทนี้ คือ ฟันคุดที่ไม่สามารถโผล่พ้นกระดูกได้ โดยแบ่งย่อยได้เป็น 2 แบบอีก ได้แก่

2.1 ฟันคุดที่มีบางส่วนอยู่ในกระดูก (Partial Bony Impaction) : คือ ฟันคุดที่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกบางส่วน แต่ติดอยู่ใต้กระดูกขากรรไกร

2.2 ฟันคุดที่อยู่ภายใต้กระดูกทั้งซี่ (Complete Bone Impaction) : คือ ฟันคุดที่ทั้งซี่ฝังตัวอยู่ภายใต้กระดูกขากรรไกรและยังไม่โผล่พ้นเหงือก ฟันคุดประเภทนี้จะขึ้นมาเองไม่ได้ ปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดถุงน้ำหรือดันฟันซี่อื่นให้ล้มได้เลยทีเดียว กรณีนี้ ต้องใช้วิธีผ่าตัดเอาฟันคุดออกและเย็บแผล

ผลกระทบจากการมี “ฟันคุด”

เพราะฟันคุดคือฟันที่ขึ้นมาอย่างผิดปกติ โผล่ขึ้นมาบางส่วน หรือไม่โผล่ขึ้นมาเลยทั้งซี่ทำให้ไม่สามารถทำความสะอาดได้เฉกเช่นเดียวกันฟันซี่อื่น จึงสามารถก่อให้เกิดผลกระทบได้ดังนี้

  • เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียชั้นดี เนื่องจากการทำความสะอาดแบบปกติเข้าไม่ถึง
  • มีอาการปวดฟันคุด ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่นการเคี้ยวอาหาร หรือการนอน
  • เป็นเหตุให้เกิดฟันผุหรือเหงือกอักเสบได้ จากเศษอาหารติดที่ซอกฟัน
  • ฟันยื่น ฟันเก หรือกระดูกรอบรากฟัน-รากฟันข้างเคียงถูกทำลาย จากแรงดันตัวของฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา
  • เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อหุ้มฟัน
  • การเกิดซีสต์และเนื้องอกเกิดขึ้นรอบๆฟันคุด

ดังนั้นเมื่อพบว่าตัวเองมีฟันคุด Wabi Dental Clinic Chiangmai แนะนำว่าให้รีบปรึกษาทันตแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

วิธีสังเกต “ฟันคุด”

  • เริ่มมีการปวดหรือเสียวเมื่อสัมผัสบริเวณที่เป็นฟันคุด
  • ขยับปากลำบากหรืออ้าปากแล้วปวดที่บริเวณขากรรไกร
  • เหงือกบวมแดง บางรายอาจเกิดแผลหรือเป็นหนอง
  • มีการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ เช่นเห็นฟันที่ขึ้นมาซ้อนหรือเบียดอย่างผิดปกติ หรือฟันเก ยื่นมาจากแนวฟันเดิม
  • หากเริ่มมีอาจการปวดหรือเสียวฟันโดยไม่ทราบสาเหตุให้เริ่มจากสังเกตฟันด้านในสุดทั้ง 4 จุด ว่าพบสิ่งปกติอย่างฟันคุดโผล่ขึ้นมาบางส่วนหรือเปล่า หรือนูนมีก้อนแข็ง ๆ ใต้เหงือก

ทำไมต้อง “ผ่าฟันคุด” ?

  1. ช่วยป้องกันฟันผุของฟันซี่ที่ข้างเคียงจากการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง
  2. ช่วยป้องกันการอักเสบของเงือก หากปล่อยทิ้งไว้อาจปวดบวมจนเกิดหนอง อักเสบลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
  3. ช่วยป้องกันการเกิดการซ้อนเกของฟัน เพราะฟันคุดที่พยายามดันตัวขึ้นมาอาจส่งผลกระทบไปยังฟันข้างเคียงให้เคลื่อนผิดตำแหน่ง
  4. ช่วยป้องกันไม่ให้รากฟัน หรือกระดูกรอบรากฟันของฟันซี่ข้างเคียงถูกทำลาย จากกันดันหรือกดทับ
  5. ช่วยป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก จากการขยายตัวของเนื้อเยื่อรอบฟันคุด ซึ่งถุงน้ำนี้สามารถไปทำลายฟันซี่ข้างเคียงและกระดูกบริเวณรอบ ๆ ได้
  6. ในกรณีผู้ต้องการจัดฟัน การถอนฟันคุดที่อยู่ในตำแหน่งฟันกราม มีส่วนช่วยให้ฟันซี่อื่น ๆ เคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น

“ผ่าฟันคุด” เจ็บไหม ?

คำถามที่ Wabi Dental Clinic Chiangmai พบบ่อยที่สุด ซึ่งต้องต้องบอกว่าผ่าฟันคุดไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด “ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะ และตำแหน่งของฟันคุดด้วยค่ะ” หากฟันคุดขึ้นตรง งอกพ้นเหงือกขึ้นมาก็สามารถใช้วิธีการถอนออกได้ แต่หากเป็นแนวนอน หรือฝังตัวใต้เหงือกอาจต้องมีการผ่าร่วม

แต่อย่าพึ่งกลัวค่ะ เพราะการผ่าฟันคุดทันตแพทย์จะฉีดยาชาช่วยลดความเจ็บปวดขณะผ่า หลังผ่าตัดเสร็จก็จะทำการล้างทำความสะอาดแผล และเย็บปิดแผล คนไข้จะมีอาการปวดบ้างหลังยาชาหมดฤทธิ์ แต่จะมียาแก้ปวดช่วยบรรเทาให้กลับไปทานค่ะ ที่สำคัญคือควรทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งคัด เช่นการกัดผ้าก๊อซให้แน่น ๆ ประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อห้ามเลือด อาการปวดนี้อาจหลงเหลือบ้างในช่วง 3 – 5 วัน แต่ความเจ็บก็จะค่อย ๆ ลดหลั่นไปค่ะ

แต่ถ้าถามถึงความคุ้มค่าต่อการเจ็บ 3 – 5 วันนี้กับข้อดีหลังผ่าฟันคุดบอกเลยว่าคุ้มค่ามากกว่าแน่นอนค่ะ

ปรึกษาคุณหมอฟรี

ติดต่อ Wabi Dental Clinic เพื่อปรึกษาเรื่องการรักษารากฟัน