Previous slide
Next slide
Wabi Dental คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ ให้บริการรักษารากฟัน

Wabi Dental คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ ให้บริการรักษารากฟัน

หลายคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มักละเลยการดูแลสุขภาพฟันโดยไม่ใส่ใจตรวจสุขภาพฟันตามกำหนด จนกระทั่งเกิดปัญหาร้ายแรงขึ้น เช่น อาการที่เกี่ยวกับรากฟัน เมื่อทราบว่าจำเป็นต้องรักษารากฟัน หลายคนถึงกับหวาดกลัว เนื่องจากเคยได้ยินเรื่องราวหรือประสบการณ์จากผู้ที่เคยรักษามาแล้ว การรักษารากฟันเป็นขั้นตอนทางทันตกรรมที่จำเป็นเมื่อฟันเกิดปัญหารุนแรง เช่น ฟันผุทะลุถึงโพรงประสาทหรือเกิดการติดเชื้อจนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีพื้นฐานอีกต่อไป

ในบทความนี้ คลินิกทันตกรรม Wabi Dental Clinic เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา อาการที่ควรระวัง ขั้นตอนการรักษา และวิธีดูแลสุขภาพฟันอย่างเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับฟันในอนาคต

สารบัญเนื้อหา

คลินิกทันตกรรม Wabi Dental Clinic ทางเลือกเพื่อการรักษาฟัน จ.เชียงใหม่

การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) เป็นหัตถการทางทันตกรรมที่ช่วยรักษาฟันที่มีการติดเชื้อหรือได้รับความเสียหายที่เนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน โดยทันตแพทย์จะทำการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อหรือตายแล้วออก ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภายในรากฟัน จากนั้นจึงซ่อมแซมด้วยการอุดวัสดุพิเศษเพื่อปิดคลองรากฟันป้องกันการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยรักษาฟันที่มีปัญหารุนแรงได้โดยไม่ต้องถอนฟันออก แต่หากไม่สามารถรักษาฟันได้ ก็อาจจำเป็นต้องทำรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันซี่เดิม

ปัญหาฟันผุ: สาเหตุหลักที่ต้องรักษารากฟันที่คลินิกทันตกรรม

การฟันผุไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน แต่เป็นปัญหาสะสมจากการดูแลฟันที่ไม่เหมาะสมหรือการละเลยสุขอนามัยในช่องปาก คลินิกทันตกรรม Wabi Dental Clinic ชวนมาทำความเข้าใจถึงโครงสร้างฟันและรากฟัน ตลอดจนสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดฟันผุ ดังนี้

โครงสร้างของฟันและรากฟัน (Structure of Teeth)

โครงสร้างของฟันและรากฟัน (Structure of Teeth)
  • เคลือบฟัน (Enamel) เป็นผิวฟันที่แข็งที่สุดและอยู่ชั้นนอกสุดของฟัน ทำหน้าที่รับแรงบดเคี้ยว โดยไม่มีเส้นเลือดและเส้นประสาท แต่มีโครงสร้างเป็นผลึก ทำให้เมื่อฟันเริ่มผุในระยะแรก ผู้ป่วยจะยังไม่รู้สึกเจ็บปวด
  • เนื้อฟัน (Dentine) เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากเคลือบฟัน โดยมีลักษณะเป็นท่อเนื้อขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทที่สามารถรับรู้ความรู้สึก เมื่อฟันเริ่มผุ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกเสียวฟัน
  • โพรงประสาทฟัน (Pulp) คือพื้นที่ในฟันที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งมีเส้นประสาท เส้นเลือด และระบบน้ำเหลือง เป็นส่วนที่มีความสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกของฟัน
  • เหงือก (Gum) เป็นเนื้อเยื่อส่วนหุ้มฟันและกระดูกขากรรไกร ทำหน้าที่ปกป้องฟันและโครงสร้างขากรรไกรจากการบาดเจ็บและการติดเชื้อ

สาเหตุของฟันผุที่ลุกลาม

  1. การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรืออาหารที่ทำให้เกิดกรด
  2. การแปรงฟันไม่สะอาด ทำให้คราบพลัคสะสม
  3. การละเลยการตรวจสุขภาพฟันประจำปี อย่างน้อย 1-2 ครั้ง/ปี
  4. ฟันผุมาก หรือเกิดโรคเกี่ยวกับเหงือก 
  5. เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ฟันแตกหักจนถึงโพรงประสาทฟัน
  6. นอนกัดฟันรุนแรง หรือมีพฤติกรรมเคี้ยวอาหารที่เสี่ยง 

 

หากฟันผุทะลุไปถึงโพรงประสาท จะส่งผลให้เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อในรากฟัน อาการเหล่านี้ไม่เพียงทำให้เจ็บปวดอย่างรุนแรง แต่ยังอาจลุกลามไปกระดูกขากรรไกรหรือเนื้อเยื่อรอบข้างได้

วิธีสังเกตตัวเอง: อาการบ่งชี้ว่าคุณอาจต้องรักษารากฟัน

เมื่อรากฟันเกิดปัญหาหรือความผิดปกติ มักมีสัญญาณเตือนชัดเจน เช่น ความเจ็บปวดขณะเคี้ยวหรือกัดอาหาร อาการเสียวฟันเมื่อตอบสนองต่ออาหารหรือเครื่องดื่มร้อน-เย็น ฟันโยก และอื่น ๆ เนื่องจากรากฟันเป็นส่วนสำคัญของฟันที่เกี่ยวข้องกับโพรงประสาทฟัน (Pulp Chamber) ซึ่งเป็นแหล่งรวมเส้นประสาทและหลอดเลือด  

หากโพรงประสาทฟันหรือรากฟันติดเชื้อ ฟันซี่นั้นอาจได้รับความเสียหายรุนแรงจนไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป อาการที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ บวมที่ใบหน้าหรือเหงือก มีน้ำหนองไหลออกจากฟันซี่ที่ติดเชื้อ ตุ่มหนองบนเหงือกบริเวณ ฟันคล้ำลง หรือรู้สึกปวดและไม่สบายในช่องปากอย่างต่อเนื่อง  

หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที: 

  1. ปวดฟันอย่างรุนแรง ปวดเฉพาะจุดหรือปวดต่อเนื่อง อาจดีขึ้นหรือไม่เลยเมื่อรับประทานยา
  2. บวมบริเวณเหงือกหรือใบหน้า อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่ลุกลาม  
  3. รู้สึกเสียวฟันรุนแรง รู้สึกเสียวฟันเมื่อรับประทานของร้อนหรือเย็น  
  4. เกิดฝีหนองในช่องปาก บ่งบอกถึงการติดเชื้อในระดับรุนแรง 
  5. ฟันเปลี่ยนสี อาจเกิดจากการเสียเลือดภายในฟัน 

2 รูปแบบการรักษารากฟันที่คลินิกทันตกรรม Wabi Dental Clinic

1.การรักษารากฟันด้วยวิธีทั่วไป

ในขั้นตอนเบื้องต้น ทันตแพทย์จะเริ่มจากการวัดความยาวของคลองรากฟันด้วยการเอกซเรย์ จากนั้นทำความสะอาดภายในคลองรากฟันอย่างละเอียด เพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือเนื้อเยื่อที่ตาย รวมถึงแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในบริเวณดังกล่าว หลังจากนั้นคลองรากฟันจะถูกอุดชั่วคราว เพื่อรอให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่

กระบวนการนี้อาจต้องใช้เวลาหลายครั้ง เพราะฟันจะไม่ถูกอุดแบบถาวรจนกว่าจะมั่นใจว่าภายในคลองรากฟันสะอาดและปลอดเชื้อแล้ว คลินิกทันตกรรม ส่วนใหญ่จึงมักนัดผู้ป่วยเพื่อดำเนินการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ครั้ง

2.การรักษารากฟันด้วยวิธีผ่าตัดปลายรากฟัน

วิธีนี้จะถูกนำมาใช้ในกรณีที่การรักษาด้วยวิธีทั่วไปไม่ได้ผล โดยทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดบริเวณปลายรากฟันเพื่อตัดเนื้อที่ติดเชื้อหรือมีหนองออกบางส่วน ปัจจุบันเทคโนโลยีการรักษาได้พัฒนาไปอย่างมาก โดยใช้กล้องจุลศัลยกรรมที่มีกำลังขยายสูง เพื่อช่วยให้มองเห็นคลองรากฟันขนาดเล็กได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้จึงมีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม

ข้อปฏิบัติหลังการรักษารากฟัน

หลังจากรักษารากฟันแล้ว การดูแลฟันอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต  

  • ดูแลช่องปากอย่างดี แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
  • ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ควรไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน
  • หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง ลดความเสี่ยงฟันแตกหรือเสียหายเพิ่มเติม

ปรึกษาคุณหมอฟรี

ติดต่อ Wabi Dental Clinic เพื่อปรึกษาเรื่องการรักษารากฟัน