ผ่าปุ่มกระดูก คืออะไร? ใครควรทำ? Wabi Dental Clinic คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่
สารบัญเนื้อหา

ผ่าปุ่มกระดูก คืออะไร? ใครควรทำ? Wabi Dental Clinic คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่

หากพูดถึงคำว่า “ปุ่มกระดูก” หลายคนอาจสงสัยว่าคืออะไร? หรืออาจไม่เคยได้ยินมาก่อน วันนี้ Wabi Dental Clinic คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ มีคำตอบทุกเรื่องเกี่ยวกับปุ่มกระดูก และการศัลยกรรมช่องปากผ่าปุ่มกระดูกให้ทุกคนหายสงสัยค่ะ

ปุ่มกระดูกในช่องปาก คืออะไร ?

ปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกในช่องปาก คือ ก้อนกระดูกแข็งโค้งนูนในช่องปาก ซึ่งอาจจะพบเป็นก้อนเดี่ยวๆ หรืออาจเป็นหลาย ๆ ก้อนรวมกันแบบเป็นพูก็ได้ โดยมักพบได้บ่อยในบริเวณกึ่งกลางเพดานปาก, บริเวณสันเหงือกด้านใกล้ลิ้น, บริเวณผิวกระดูกขากรรไกร (มักพบในช่วงขากรรไกรล่างด้านใน)

สามารถพบได้ในบางคนซึ่งสาเหตุของการเกิดนั้นยังไม่แน่ชัด อาจเกิดจากพันธุกรรม เชื้อชาติ เพศ อายุ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างซ้ำ ๆ อาทิ ชอบนอนกัดฟันในเวลากลางคืน โดยปุ่มก้อนกระดูกงอกในช่องปากนี้จะค่อยๆ โตขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามช่วงอายุ จึงทำให้ไม่พบในเด็ก แต่มักเริ่มพบได้ในวัยหนุ่มสาว โดยปุ่มกระดูกนี้จะโตช้าลงจนสามารถหยุดโตเองได้ และจะมีรูปร่างไม่แน่นอนในแต่ละคน มีความแข็ง พื้นผิวปกคลุมด้วยเหงือกสีชมพูที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเหงือกบริเวณอื่นๆ ในช่องปาก

หากปุ่มก้อนกระดูกงอกนั้นมีขนาดไม่ใหญ่นัก ก็อาจทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ ค่ะ ซึ่งในกรณีนี้ Wabi Dental Clinic คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ มองว่าอาจยังไม่มีความจำเป็นในการผ่าปุ่มกระดูกในช่องปากออกค่ะ

ศัลยกรรมช่องปาก “ผ่าปุ่มกระดูก” คืออะไร ?

“การผ่าตัดปุ่มกระดูกในช่องปาก” ถือเป็นการศัลยกรรมช่องปากอย่างหนึ่ง โดยจะเป็นการผ่าตัดเพื่อเอาปุ่มกระดูกที่ก่อให้เกิดปัญหาออกไม่ว่าจะปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน อันก่อให้เกิดความลำบาก ความรำคาญ หรือเป็นปัญหาเป็นอุปสรรคต่อการทำทันตกรรมบางอย่าง หรือบางรายอาจต้องการเอาออกเนื่องจากปุ่มกระดูกอาจงอกมาในจุดที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดทำให้รู้สึกไม่สวยงามก็สามารถทำได้ ซึ่งการรักษานี้จะเป็นการผ่าตัดเล็กใช้เวลาประมาณ 30 – 50 นาที โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการผ่าตัดปุ่มกระดูกที่ Wabi Dental Clinic คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่

  1. ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชา เพื่อลดอาการเจ็บปวดขณะที่ทันตแพทย์ทำการผ่าตัดช่องปาก
  2. ทันตแพทย์จะทำการผ่าและเปิดเหงือกที่คลุมออกให้เห็นปุ่มกระดูกได้อย่างชัดเจน
  3. ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือตัด หรือกรอเอาปุ่มกระดูกส่วนที่โป่งนูนดังกล่าวออก
  4. เมื่อนำปุ่มกระดูกออกเสร็จเรียบร้อยแล้วทันตแพทย์จะทำการล้างแผลให้สะอาดด้วยย้ำเกลือล้างแผล
  5. ทันตแพทย์จะทำการเย็บแผลปิดด้วยไหมเย็บ และหากในกรณีที่เป็นแผลที่มีบริเวณกว้างก็อาจมีการใส่เครื่องมือที่เรียกว่า Stent หรือ Obtulator ปิดแผลไว้ ซึ่งจะช่วยในการห้ามเลือดและช่วยป้องกันเวลาเคี้ยวอาหาร
  6. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทันตแพทย์จะทำการนัดผู้ป่วยอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อกลับเข้ามาตัดไหมเย็บแผลออก

ใครบ้างที่ควรศัลยกรรมช่องปาก “ผ่าปุ่มกระดูก” ?

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นหากปุ่มกระดูกนั้นมีขนาดไม่ใหญ่ ก็อาจไม่ส่งผลให้เกิดผลกระทบใด ๆ แล้วใครบ้างที่คัดศัลยกรรมช่องปาก “ผ่าปุ่มกระดูก” Wabi Dental Clinic คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ ขอให้ความเห็นเบื้องต้นดังนี้ค่ะ 

  • ผู้ที่มักมีอาการระคายเคือง หรือแผลที่เกิดจากปุ่มกระดูกอยู่บ่อยครั้ง
  • ผู้ที่มักมีเศษอาหารเข้าไปติดที่ปุ่มกระดูกดังกล่าวที่ยากต่อการทำความสะอาด ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก
  • ผู้ที่จำเป็นต้องใส่เครื่องมือทันตกรรมบางชนิด เช่น จัดฟัน, ใส่ฟันปลอม แล้วตำแหน่งปุ่มกระดูกนั้นทำให้เกิดความลำบากต่อการใส่เครื่องมือ
  • ผู้ที่มีปุ่มกระดูกขนาดใหญ่ที่บริเวณฟันหน้า ส่งผลต่อรอยยิ้ม สูญเสียความมั่นใจ
  • ผู้ที่มีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร เนื่องจากอาหารไปกระแทกโดนปุ่มกระดูก จนทำให้รู้สึกเจ็บ หรือสร้างความรำคาญในการใช้ชีวิต

ทำไม “ปุ่มกระดูกในช่องปาก” ถึงมักเป็นอุปสรรคต่อการทำทันตกรรม?

โดย Wabi Dental Clinic คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ เล็งเห็นว่า “ปุ่มกระดูกในช่องปาก” มักเป็นอุปสรรต่อการทำทันตกรรม 2 อย่าง ต่อไปนี้

1.การจัดฟัน

เพราะกระบวนการจัดฟันนั้น จะมีการกระตุ้นให้เกิดการรีโมเดลลิ่งของกระดูกขากรรไกรในระหว่างการเคลื่อนฟัน (ซึ่งกระดูกขากรรไกรมักเป็นจุดที่ปุ่มกระดูกฟันในช่องปากมักงอกขึ้น) ดังนั้นหากคนไข้ที่ต้องการจัดฟันแล้วมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดก็อาจส่งผลให้ปุ่มกระดูกนี้งอกง่ายขึ้น หรือคนที่มีปุ่มกระดูกงอกอยู่แล้วก็อาจรุ่นแรงขึ้นได้ การผ่าปุ่มกระดูกในช่องปากก่อนทำการจัดฟันจึงสามารถช่วยให้การจัดฟันดำเนินไปอย่างราบรื่นได้ค่ะ

2.การใส่ฟันปลอม

เพราะกระบวนการใส่ฟันปลอมนั้น โครงฐานฟันปลอมต้องพาดผ่านตรงส่วนที่มีปุ่มกระดูกงอกขึ้นมา ถ้าหากว่าไม่ทำการผ่าตัดนำปุ่มกระดูกแล้วใส่ฟันปลอมทับปุ่มกระดูกลงไปเลย จะส่งผลให้เกิดการกดทับและเกิดแผลเรื้อรังได้ และอาจส่งผลถึงขั้นทำให้การวางของลิ้นเปลี่ยนไป ทำให้เกิดปัญหาต่อการพูด อย่างการพูดไม่ชัด ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ใส่ฟันปลอม ควรมีการผ่าปุ่มกระดูกออกก่อนค่ะ

สำหรับใครที่กำลังกังวลเกี่ยวกับปุ่มกระดูกในช่องปากว่ามีความจำเป็นต้องเอาออกหรือไม่ สามารถเข้ามาปรึกษากับ Wabi Dental Clinic คลินิกทันตกรรม เชียงใหม่ ก่อนได้ค่ะ เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้วิเคราะห์ และวางแผนการรักษาให้ และเรามีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะทำให้ การผ่าปุ่มกระดูกในช่องปาก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ

ปรึกษาคุณหมอฟรี

ติดต่อ Wabi Dental Clinic เพื่อปรึกษาเรื่องการรักษารากฟัน